เรื่องเล่าเคล้าประวัติความเป็นมา ถ้ำพระยานคร จ. ประจวบคิรีขันธ์ (Phrayanakorn Cave Prachuap Khiri Khan)

มิถุนายน 12, 2562
หลังจากที่เราผ่าน หาดบางปู ขึ้นเขาเทียน ผ่านหาดแหลมศาลา ตอนนี้ถึงคราวของ ถ้ำพระยานคร แหล่งท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ของ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กันแล้วหละครับ รายละเอียดที่มาของ ถ้ำแห่งนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันต่อไปได้เลยครับ



ย้อนกลับไปเมื่อสมัยอดีต เจ้าพระยานคร เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (ไม่ทราบหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นเจ้าเมืองคนไหน) ได้แล่นเรือมาบริเวณชายหาดแถบนี้ (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหาดบางปู หรือหาดแหลมศาลา) ระหว่างที่แล่นเรืออยู่นั้นมีพายุโหมกระหน่ำอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถแล่นเรือต่อไปได้ เจ้าพระยานคร จึงนำเรือเข้าเทียบชายฝั่งของหาด เพื่อหลบพักรอให้พายุสงบลงเสียก่อน

หลังจากที่พักเรืออยู่เป็นเวลานานหลายวัน เจ้าพระยานคร เริ่มมีความกระหายน้ำจึงได้สร้างบ่อน้ำขึ้น 1 บ่อ (เป็นบ่อน้ำที่สร้างด้วยอิฐดินเผารูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 4 เมตร) ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของ บ่อพระยานคร นั่นเองครับ จาก บ่อพระยานคร นี้เอง เราพอจะอนุมานได้ว่า ชื่อ ถ้ำพระยานคร ก็น่าจะมีที่มาจาก เจ้าพระยานคร คนนี้

ภายหลัง ร.5 ได้เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และติดอกติดใจในความสวยงามของถ้ำ จึงสั่งให้ช่างสร้างพลับพลาสำหรับนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจขึ้น ตรงบริเวณเนินดินกลางถ้ำ และได้ตั้งชื่อให้พลับพลาหลังนี้ว่า พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงลงพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำด้วย

* หมายเหตุ พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นตราประจำจังหวัดประจวบคิรีขันธ์







ถัดมาในยุคของ ร.7 พระองค์ก็ทรงเสด็จประพาสที่ถ้ำแห่งนี้เช่นเดียวกัน และได้ลงพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำด้วย

ถัดมาในยุคของ ร.9 ในหลวงของเรา ทรงเสด็จประพาสที่ถ้ำแห่งนี้ถึง 2 ครั้ง ด้วยกัน

นับว่าเป็นสถานที่ที่นอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกด้วย หากไม่สวยงามจริงกษัตริย์แห่งราชวงค์จักรีของเราคงไม่ไปเยี่ยมเยียนถึง 3 ประองค์

เพื่อน ๆ คนไหนที่อยากไปสัมผัสกับความสวยงามผสานกับความลึกลับของ ถ้ำพระยานคร ลองไปได้นะครับ แต่ชาวบ้านแถวนั้นแนะนำว่าให้ไปช่วงหน้าหนาว เพราะจะเห็นแสงอาทิตย์ลอดช่องถ้ำส่องลงมาที่ พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ด้วย รายละเอียดตัวเต็มสามารถดูได้จากลิงค์ด้านล่างครับ

https://jbtravel88.blogspot.com/2018/07/phraya-nakhon-cave-samroiyod-prachuap.html

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »